our feeds from our design teams
and The Development of Innovation and
Design, Product Development
3 วิธีการและความเชื่อ ที่จะพาให้สมาชิก(ทุกคน)ในทีม เปลี่ยนแปลง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ด้วย Lean UX
Lean UX สร้างขึ้นจากหลักการสำคัญที่ครอบคลุมกระบวนการ การทำงานร่วมกัน และการจัดการ หลักการเหล่านี้มาใช้จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร ทำให้มีการทำงานร่วมกันมากขึ้น หรือการทำงาน cross-functional ได้ดีขึ้น ทุกหลักการล้วนมีส่วนช่วยในการสร้าง Product และ Service Disclaimer — ผมค่อนข้างเชื่ออย่างยิ่งว่า ทุกที่ ทุกบริษัท ต่างมีวิธีการทำงานของตัวเอง อาจจะทดลองมาหลายอย่างแล้ว หลายวิธี หลายความเชื่อ ฉะนั้น มันอาจะขึ้นอยู่กับหลายอย่าง เช่น stage ของทีม, ของบริษัท หรือของ Product/Service ของเราด้วย และยังรวมหมายถึงความเชื่อและความร่วมมือแต่ละคนด้วย เพราะฉะนั้น ทดลองอะไรแล้ว หมั่นสังเกต เก็บ feedback อย่างต่อเนื่อง และค่อยๆ ปรับจูนกันไป ต้องบอกที่มาอีกนิดนึงว่า เนื้อหาบทความนี้ได้จากการเอาประสบการณ์ที่ผมเจอ เคยฟัง เคยทำ มาเล่ารวมกับ Principles ซึ่งเป็น Chapter ที่ 2 ของหนังสือ Lean UX (ที่อ่านจบบาง…Product Development
ทำไม Mental Model กับการทำงานของ UX ถึงส่งผลดีกับธุรกิจ
ในช่วงแรกของการย้ายสายงานจาก Project Manager บริษัทโฆษณา มาทำ UX Designer ที่บริษัท Startup ช่วงปี 2016 ผมได้มีช่วงเวลาที่ได้ไปรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ ในสายงาน UX และรวมถึง UI ด้วยค่อนข้างหลายงาน และได้พบกับหลายๆ คน รวมถึงการได้รู้จักศัพท์ใหม่ๆ ศัพท์แปลกๆ ที่เกี่ยวข้องกับ UX เยอะมากๆ หนึ่งในนั้นคือ Mental Model ตัวอย่างนึงที่ผมจะชอบถามนักเรียนในห้องเรียนเสมอ ลองคิดตามไปด้วยกันครับ ถ้าวันนี้เราเจอปุ่มทางเลือกที่จะต้องตัดสิน อย่างตัวอย่างภาพล่าง เราคิดว่าปุ่มไหนเป็นปุ่ม หรือเราคิดว่าปุ่มลบสีอะไร ผมค่อนข้างมั่นใจว่าส่วนใหญ่น่าจะตอบว่า ปุ่มลบคือปุ่มสีแดง และถ้าถามว่าทำไมถึงคิดว่าต้องเป็นสีแดง ทุกคนน่าจะตอบด้วย “ประสบการณ์” ที่ตัวเองเคยพบเจอมา ยิ่งถ้าเป็น Developer ตอบก็คงอาจจะตอบว่า เพราะที่ผ่านมาเวลา Dev เป็นสีนี้ตลอด หรือใครเคยใช้ Bootstrap ก็จะเห็นว่า defualt หรือค่าที่กำหนดมาให้ถ้าเป็นปุ่มลบหรือปุ่มสีแดง จะใช้กับ context ที่เป็นอันตราย และนี่ก็เป็นตัวอย่างส่วนนึงของ Mental…Product Development
เข้าใจการทำงานของ UX กับทีมต่างๆ ผ่าน Elements of UX
วันนี้ได้หยิบหนังสือเอาออกมาจากกอง(ดอง)หนังสือหลายๆ เล่ม ที่อ่านจบบ้างไม่จบบ้าง (ส่วนใหญ่ไม่จบเลย) เลยลองสรุปบางส่วนจาก Chapter 1 เท่านั้นนะครับ ผ่านเรื่องเล่าเล็กๆ ที่เคยเจอ และลองวิเคราะห์ไปด้วยระหว่างทางที่อ่าน Disclaimer — เป็นเพียงมุมมองตัวเอง ประสบการณ์ของตัวเอง เพื่อนๆ ที่เข้ามาอ่านอาจจะหยิบจับปรับกับบริบทตัวเอง(หรือเคยทำมาแล้ว)อาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ครับ พฤติกรรมคน บริบท เป้าหมายองค์กร ธุรกิจ ความร่วมมือกันภายในองค์กร หรืออีกหลายๆ อย่าง ต่างมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์ แนะนำตัวสั้นๆ — ผมชื่อป๋อม ปัจจุบันมีร่างนึงเป็นเจ้าของบริษัทเล็กๆ คือ KO-EXPERIENCE เป็นบริษัทที่ปรึกษาและผลิตงาน UX และ UI อีกร่างนึงมีสอนหนังสือตามมหาลัยหรือใครก็ตามก็เชิญไปครับ (จิ้ม profile กดดูได้ที่นี่ครับ) Know Product Feedback Product หรือ Service ที่เราได้ใช้งานหรือใช้บริการในทุกวันนี้ มันมีทั้งที่ช่วยให้เราสะดวกสบาย แต่ในทางกลับกัน มันก็มีบางครั้งที่มันก็ทำให้เราต้องอารมณ์เสียหงุดหงิดเช่นกันด้วย / ผมคิดเอาเองว่า เจตนาของการเปิดเรื่องแบบนี้ เพราะอยากให้เราเริ่มเปิดต่อมความสงสัยหรือสังเกต Product หรือ Service รอบๆ ตัวเราครับว่า…Sharing
แบ่งปันประสบการณ์วิธีสร้างการเติบโตของทีม UX ด้วยตัวของสมาชิกทีมเอง
ไม่ว่าจะสายงานใดก็แล้วแต่ พนักงานบริษัท หรือลงไปถึงสมาชิกทีม ก็คงอยากจะรู้ว่าตัวเองเติบโตในบริษัทได้ถึงขนาดไหน อย่างไรบ้าง อาจจะมีคำถามไปถึงว่า แล้วปัจจุบันนี้ฉันอยู่ตรงไหนแล้ว ฉันวิ่งมาถูกทางหรือยังนะ ผมคิดว่าอาจจะมีคำถามหรือความสงสัยที่ผุดออกมาด้วยว่า “ทำไมพี่คนนี้เป็น Senior ได้นะ เค้าไม่เห็นเก่งอะไรเลย” หรือ “พี่คนนี้เค้าเป็น Lead ได้ยังไงนะ ฉันจะเป็นแบบเค้ายังไงได้บ้างนะ” Summary: เนื้อหาในบทความนี้จะพูดถึงประสบการณ์ที่เริ่มสร้างวิธีการกำหนดแต่ละเลเวลของ UX ในทีม โดยที่มาที่ไปสืบเนื่องจากเริ่มเข้ามาตั้งทีม UX ภายในองค์กร จนถึงกำหนดทิศทางทีมหลายอย่าง เช่น วิธีการทำงาน หรือ Way of working, การติดต่อประสานงานกับทีมต่างๆ จนมาถึงวิธีการพัฒนาทีม หรือ People Development, การประเมินทักษะ และการเติบโตในสายงานของทีม หรือ Career path (ซึ่งในบริษัทจะใช้ชื่อ Title job ว่า “Experience Designer” แต่เพื่อความเข้าใจที่ง่ายต่อชื่อตำแหน่ง จะใช้ว่า “UX Designer” แทน) เป็นเหมือน Ground…Sharing
Always be an “Intern”
The Intern ผ่านมาหลายปีแล้ว เห็นคนทำบทความตอนหนังออกใหม่เยอะมากว่าได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง โดยส่วนตัวดูหลายรอบแล้วเหมือนกัน แต่ทุกครั้งก็ได้อะไรใหม่ๆ กลับมาขบคิดเสมอ ขอลองเล่าในแบบฉบับตัวเองบ้างแล้วกัน พอดีวันนี้เอามาดูอีกรอบ 1. Always be intern ผมเชื่อว่าทุกคนล้วนเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา มันมีแหละชุดความรู้ที่ยังใช้ทำงานได้เป็นหลัก แต่สุดท้ายการเรียนรู้ในแต่ละสถานการณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอด หลายคนอาจจะบอกว่าเทคโนโลยี คงส่วนนึง คุณใช้เวลากับมันได้ แต่ผมเน้นว่าเรื่องคนมาก คนมีตัวแปรหลายอย่างในชีวิตที่เปลี่ยนแปลง เรียนรู้กับคนคือเรื่อง Challenge สำหรับผมนะ 2. Listen, not just hear ผมคิดว่าจะไม่ใช้คำว่า “บางครั้ง” แต่ “ทุกครั้ง” การรับฟังใครสักคน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก มันไม่ใช่แค่ฟังแล้วปล่อยผ่านไป แต่คุณต้องให้เวลาตั้งแต่ก่อนฟัง รับฟัง และหลังฟัง เรื่องนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก หลายคนน่าจะเข้าใจดี ลองจินตนาการถึงคนนึงที่เค้าพูด คือเค้ากำลังให้อะไรบางอย่างกับเรา แต่เรารับของโดยไม่มองหน้าเค้าเลย หรือไม่สนใจแกะกล่องมันด้วยซ้ำ มันไม่ดีเลยเนอะ 3. Don’t let people talk behind you จริงๆ ผมว่ามันคงห้ามกันยาก…Sharing
What do Product Manager do จังหวะชีวิต Product Manager คิด-ตัดสินใจ-ทำอะไรบ้าง
ต่อยอดจากหนังสือ 1 หน้า กับการบอกเล่าประกอบเป็นข้อๆ ไปกับประสบการณ์ที่ผ่านมาไปด้วยสั้นๆ จากที่เคยทำมา ถ้าใครเป็น Product Manager ที่ช่ำชองแล้ว บทความนี้อาจจะไม่เหมาะก็ได้นะครับ แต่ถ้าได้อ่าน ก็ถือว่าได้ทบทวนหรือ reflection ตัวเองก็ได้นะ เผื่อใครตอนนี้กับว้าวุ่นใจ(หรืองาน)กับตัวเองอยู่ :) มีโอกาสได้อ่านหนังสือชื่อ The Product Book : How to become a great Product Manager ของ Product School คนถ่ายทอดก็มีสองคน คือ Josh Anon ลองคลิกไปอ่านประวัติได้เลย สั้นๆ คือคนนี้เป็น Instructor ใน Product School ส่วนอีกคน Carlos González de Villaumbrosia ก็ลองกดเข้าไปอ่านประวัติเต็มๆ ได้ คนนี้คือ Founder ของ Product School พอดีหยิบมาอ่านบนรถไฟฟ้าระหว่างเดินทางไปทำงานตอนเช้า ยืนอ่านตัวไม่อยู่นิ่งเพราะรถไฟฟ้าก็เคลื่อนตัวไปเรื่อยๆ กอดกระเป๋าไว้ด้านหน้าแล้วถือหนังสือเล่มหนาประมาณ 2…Sharing
จะมีสัญญาณอะไรบ้างที่จะบอกเราว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้อง Move on จากงานที่เราทำอยู่นะ
จากบทความว่าไว้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการบันทึกว่ามีคนลาออกโดยสมัครใจเป็นจำนวนมาก นิยามเหตุการณ์นี้ว่า The Great Resignation หรือ Big Quit Original from HBR เน้นคำจากหัวข้อถึงบทความ จากหัวข้อแล้ว ในบทความใช้คำว่า “career change” คือมันไม่ใช่แค่เปลี่ยนงานนะ แต่เป็นการเปลี่ยนอาชีพเลย และยังลงท้ายด้วยว่า “fresh path” คือชัดมากว่า นี่คือเรื่องใหม่ที่ต้องรับมือ รวมถึงในเนื้อหาระบุถึงการ “เปลี่ยนสายงาน” โดยระบุคำว่า “career transition” จากส่วนตัวที่อ่านแล้ว คิดว่าสามารถปรับใช้กับมุมมองได้ทั้งการ “เปลี่ยนงาน” หรือ “เปลี่ยนสายงาน” ก็ได้เช่นกันนะ แต่การเปลี่ยนสายงานนี่ ต้องคิดให้เข้มข้นมากๆ เนื้อหาต่อไปนี้จะเป็นการเล่าบทความ และบวกกับมุมมองและประสบการณ์ตัวเองประกบไปด้วยกันนะครับ ลองอ่านไปด้วยกัน คิดตามไปด้วยกันได้ครับ :) จากบทความว่าไว้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการบันทึกว่ามีคนลาออก(โดยสมัครใจด้วยนะ)เป็นจำนวนมาก โดยเค้านิยามเหตุการณ์นี้เลยนะว่า The Great Resignation หรือ Big Quit…Design
รับมือและปรับตัวกับการได้รับ Feedback ไม่ใช่แค่ผู้รับ แต่รวมถึงผู้ให้ด้วย
ในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา มีโอกาสคุยกับรุ่นน้องรุ่นพี่หลายคน มีทั้งเราเป็นคนขอคำปรึกษาบ้าง และสลับเป็นฝ่ายให้คำปรึกษาบ้าง (แม้ตัวเองจะยังไม่ได้มีประสบการณ์มากก็ตาม ขอบคุณที่ไว้ใจกันนะ) สิ่งได้พบในบทสนทนาก็มีหลากหลายหัวข้อต่างกันไป แต่มีเรื่องนึงที่นึกถึงในตอนนี้คือ เรื่องของความแตกต่างแต่ละคน ซึ่งมันก็เหมือนสะกิดให้ตรงกับ Individualization หรือ Strengths Finder ของตัวเองที่เคยทำไป ทำไมถึงนึกถึงเรื่องนี้? เพราะในปัจจุบันมีคนที่เราร่วมใช้ชีวิตด้วยอยู่ตอดเวลา ไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงาน, หัวหน้างาน, เพื่อนในชีวิตส่วนตัวนอกบริษัท, เพื่อนใน community ตาม Meetup, เอาจริงๆ หรือแม้กระทั่งแฟนตัวเองก็ตาม อาจจะมีความหลากหลายที่แตกต่างจากเรามากๆ แล้วความแตกต่างมันมีผลอะไร? เพราะทุกช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันตามบทบาทชีวิตที่แตกต่างกันในตามวาระที่ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ต่างต้องมีการแสดงออกถึงความคิด การลงมือทำ และการตัดสินใจ ซึ่งนั่นหมายความว่า ความเป็นไปได้มากสุดของเหตุการณ์นี้คือ คิดไม่เหมือนกัน ตัดสินใจไม่เหมืนกัน ลงมือทำด้วยวิธีที่ต่างกัน และอาจจะนำมาซึ่งความขัดแย้งกัน ที่เกิดขึ้นได้ทุกบทบาท ไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงาน เพื่อนสนิท หรือแฟนเองก็ตาม แล้วจะทำไงให้ไม่ขัดแย้งกันละ? กังวลว่าเนื้อหามันจะยืดยาว ลองสรุปไว้เร็วๆ จากที่บทสนทนานี้เคยได้พูดคุยกับน้องๆ หลายคนในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา (โน้ต: ไม่ได้ว่าขัดแย้งเป็นเรื่องไม่ดี แต่ต้องเข้าใจไปด้วยกันว่าการขัดแย้งนี้นำไปสู่ผลลัพธ์การทำงานร่วมกันในเชิงบวกหรือ Positive ด้วย) Bible หรือคู่มือตัวเอง มันไม่ต้องถึงกับเขียนออกมาเป็นกระดาษว่าจะมีสารบัญชีวิตอะไรบ้าง…
Elevate your user experience with us!
Whether you have a vision or need assistance crafting one, we're here to bring your ideas to life.
Contact us to begin the journey.
Contact us to begin the journey.