รับมือและปรับตัวกับการได้รับ Feedback ไม่ใช่แค่ผู้รับ แต่รวมถึงผู้ให้ด้วย

Sutham
January 24, 2024

Share :

ในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา มีโอกาสคุยกับรุ่นน้องรุ่นพี่หลายคน มีทั้งเราเป็นคนขอคำปรึกษาบ้าง และสลับเป็นฝ่ายให้คำปรึกษาบ้าง (แม้ตัวเองจะยังไม่ได้มีประสบการณ์มากก็ตาม ขอบคุณที่ไว้ใจกันนะ) สิ่งได้พบในบทสนทนาก็มีหลากหลายหัวข้อต่างกันไป แต่มีเรื่องนึงที่นึกถึงในตอนนี้คือ เรื่องของความแตกต่างแต่ละคน ซึ่งมันก็เหมือนสะกิดให้ตรงกับ Individualization หรือ Strengths Finder ของตัวเองที่เคยทำไป

ทำไมถึงนึกถึงเรื่องนี้?

เพราะในปัจจุบันมีคนที่เราร่วมใช้ชีวิตด้วยอยู่ตอดเวลา ไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงาน, หัวหน้างาน, เพื่อนในชีวิตส่วนตัวนอกบริษัท, เพื่อนใน community ตาม Meetup, เอาจริงๆ หรือแม้กระทั่งแฟนตัวเองก็ตาม อาจจะมีความหลากหลายที่แตกต่างจากเรามากๆ

แล้วความแตกต่างมันมีผลอะไร?

เพราะทุกช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันตามบทบาทชีวิตที่แตกต่างกันในตามวาระที่ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ต่างต้องมีการแสดงออกถึงความคิด การลงมือทำ และการตัดสินใจ ซึ่งนั่นหมายความว่า ความเป็นไปได้มากสุดของเหตุการณ์นี้คือ คิดไม่เหมือนกัน ตัดสินใจไม่เหมืนกัน ลงมือทำด้วยวิธีที่ต่างกัน และอาจจะนำมาซึ่งความขัดแย้งกัน ที่เกิดขึ้นได้ทุกบทบาท ไม่ว่าจะเพื่อนร่วมงาน เพื่อนสนิท หรือแฟนเองก็ตาม

แล้วจะทำไงให้ไม่ขัดแย้งกันละ?

กังวลว่าเนื้อหามันจะยืดยาว ลองสรุปไว้เร็วๆ จากที่บทสนทนานี้เคยได้พูดคุยกับน้องๆ หลายคนในช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา (โน้ต: ไม่ได้ว่าขัดแย้งเป็นเรื่องไม่ดี แต่ต้องเข้าใจไปด้วยกันว่าการขัดแย้งนี้นำไปสู่ผลลัพธ์การทำงานร่วมกันในเชิงบวกหรือ Positive ด้วย)

Bible หรือคู่มือตัวเอง

มันไม่ต้องถึงกับเขียนออกมาเป็นกระดาษว่าจะมีสารบัญชีวิตอะไรบ้าง แต่มันเป็นการบอกเล่าถึงตัวเองกับผู้ที่อยู่ใช้ชีวิตด้วย ณ เวลานั้นว่าเราทำอะไร คิดอะไร ตัดสินใจด้วยวิธีไหน เหตุผลเบื้องหลังการคิดทำตัดสินใจคืออะไร หรือแม้กระทั่งรวมถึงว่าเรามีจุดเปราะบางเรื่องอะไรบ้าง เราแอบเชื่อเอง(อยู่คนเดียวก็ได้มั้ง) ว่าการทำวิธีนี้น่าจะช่วยสร้างความเข้าใจอีกฝ่ายได้อีกดีขึ้น และไม่ใช่ทำครั้งเดียว แต่คอยทำสม่ำเสมอเมื่อเกิด session ที่ต้อง discuss กัน

Co-Creation to Set Expectation

มาคุยด้วยกันในกลุ่มที่จะต้องคิด ทำ และตัดสินใจด้วยกัน ว่าแต่ละคนมีความคาดหวังอะไร อยากทำงานด้วยกันแบบไหน อ่านถึงตรงนี้ก็คงสงสัย มันต่างไงกับ bible อันแรก? อันแรกมันเป็นวิธีการบอกเล่าตัวเองฝ่ายเดียวกับคนอื่น ในกรณีที่คล้ายกับการแนะนำตัวเอง หรือคาดว่าตัวเองอาจจะมี concern การคิดทำตัดสินใจร่วมกับผู้อื่น หรือมีความไม่มั่นใจในบางเรื่อง (สำหรับคนที่ขาดความั่นใจ ส่วนนึงจะพบว่าขาดข้อมูลในการตัดสินใจ ร่วมถึงการขาดข้อมูลผู้ที่คิดทำตัดสินใจร่วมกันด้วย)

Quick Healthcheck

ในเหตุการณ์ที่ต้องคิดทำตัดสินใจในบางครั้งเราอาจจะได้ feedback “มาตอนท้าย” ว่า เรามีอะไรบ้างที่ต้องปรับ, จากเหตุการณ์อะไร, ส่งผลอย่างไรบ้างจากเหตุการณ์นั้น, วิธีที่คาดว่าจะปรับคืออะไร และอ้างอิงวิธีการนี้หรือเหตุผลของวิธีการนี่จากอะไร สิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่า Constructive Feedback (ขอโน้ตอธิบายไว้ด้านล่างแล้วกันสำหรับคนที่ไม่รู้เหตุผลว่าทำไปทำไมส่งผลยังไง) แต่สิ่งที่บอกต่อไปนี้ ไม่ได้บอกว่าให้รอรับ feedback ในตอนท้ายนะ แต่กำลังจะบอกว่า “ให้วิ่งเข้าใส่หา feedback เลย!” เราสามารถทำได้ทุกคนที่จบบทสนทนายาวๆ หรือจบ meeting นั้นๆ หรือจบ session ที่มีการ discuss กันได้เสมอ อย่ารอ feedback แต่จงเพิ่มความโหยหาเล็กๆ เพื่อรู้และเข้าใจสถานการณ์ได้เร็วขึ้น เข้าใจกันเร็วขึ้น และปรับตัวให้เร็วขึ้น

Note: Constructive Feedback

เพราะหลายครั้งการ feedback เพราะแค่ว่า “ไม่ชอบ” “ไม่โอเค” อาจจะตื้นเขินเกินไปที่จะส่งต่อ feedback เพียงความรู้สึก ไม่ได้ยอกว่าการส่งต่อความรู้สึกไม่สบายใจเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่การส่งต่อ feedback ทุกครั้งจะมาซึ่ง “คสามคาดหวัง” ด้วยเสมอแม้จะไม่รู้ด้วยตัวเองก็ตาม แต่ธรรมชาติของมนุษย์ก็คงจะมีส่วนเล็กๆ ที่คาดหวังว่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังบอก feedback ไปแล้ว อีกทั้ง Constructive Feedback จะช่วยให้ผู้รับคนนั้นเข้าใจบริบทมากขึ้น (รวมถึงคงอยากอธิบายเหตุผลเบื้องหลังในเหตุการณ์นั้นมากขึ้นด้วย)

เล่ามาขนาดนี้ก็ยัง disclaimer ว่าไม่ได้ชำนิชำนาญเก่งกาจทำได้คล่องนัก แต่ก็คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อใคนบางคนบ้างเพราะ pattern ที่เจอจากการให้คำแนะนำจะคล้ายกันๆ และก็โน้ตเก็บไว้กับตัวเองไว้ เผื่อจะได้ทบทวนตัวเองในวันที่หลงทาง

by Sutham
Share :